วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3 วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วัน ศุกร์  ที่  29  เดือน มกราคม  ปี  2559  เวลาเรียน  8:30 - 12:30น.




เนื้อหาที่เรียน

- เรียนการนับแล้วบอกจำนวน
- การสอนตัวเลขฮินดูอารบิด
- การเปรียบเทียบจำนวน


ทักษะ
- การคิด 
- การเรียงลำดับ 
- การบวกจำนวน
- การลบจำนวน

การประเมิน
 บรรยากาศในห้องเรียน
- ช่วงแรกไฟฟ้าดับทำให้อากาศร้อนและห้องเรียนมืดจึงต้องเปิดหน้าต่างไว้เพื่อระบายอากาศ แต่ผ่านไปไม่ถึงยี่สิบนาทีไฟก็มา ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนดีขึ้นมาก เพราะแอร์เย็นและมีความสว่าง ทุกคนก็มีความสุขจากการเรียน

การจัดการเรียนการสอน
 - สนุกได้ความรู้เพราะอาจารย์มีการถามให้นักศึกษาตอบและคิดแก้ปัญหาต่างๆไปในบทเรียน

วิเคราะห์ตนเอง
- เข้าเรียนตรงเวลา
- ตั้งใจเรียน ตอบคำถามและให้ความสนใจเวลาเรียน พยายามคิดตามในสิ่งที่อาจารย์พูดเพื่อทำความเข้าใจกับเนื้อหาที่เรียน

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2 วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


วัน   ศุกร์   ที่   15   เดือน    มกราคม     ปี   2559     เวลาเรียน     8:30 - 12:30น.


เนื้อหาที่เรียน
  วันนี้ครูใช้เทคนิคการสอนแบบตั้งปัญหาโดยใช้กระดาษเป็นสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ในเรื่องของจำนวน การบวกเลข การลบเลข 
- ขั้นตอนแรกครูให้กระดาษมาจำนวนหนึ่งแล้วให้ใช้วิธีการแจกแบบหนึ่งต่อหนึ่งคือเมื่อหยิบกระดาษแล้วส่งต่ให้คนถัดไป และแล้วการแจกกระดาษของพวกเราก็มีปัญหาคือกระดาษไม่พอแต่แสดงให้เห็นว่า วิธีที่1 มีคนมากกว่ากระดาษและวิธีที่2 กระดาษมีจำนวนน้อยกว่าคน ฉะนั้นกระดาษจึงไม่พอ ปัญหานี้ทำให้ได้เรียนรู้เรื่องจำนวนมากกว่าน้อยกว่า 
- การสอนคณิตศาสตร์ให้กับเด็กอนุบาลเราไม้ต้องรีบไปสอนตัวเลขให้เด็กทำตามเพราะบางทีอาจจะทำให้เด็กไม่ชอบเรียนคณิตศาสตร์อีกเลยและส่งผลให้เด็กคนนั้นๆเรียนได้ผลคะแนนที่ไม่ดี เด็กในวัยนี้ควรเรียนรู้คณิตศาสตร์จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวกับการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก เมื่อเด็กเข้าใจจะทำให้เด็กสามารถเรียนรู้สิ่งที่เป็นตัวเลขได้ง่ายขึ้น เช่น ปัญหาเรื่องกระดาษแจกไม่พอ ครูต้องชวนเด็กๆคิดว่าถ้ากระดาษไม่พอเราควรจะขอกระดาษเพิ่มอีกกี่แผ่น เป็นการสอนเรื่องของการบวกเลข
- วิธีการเขียน mind mapping ต้องเริ่มเขียนหัวข้อที่สำคัญจากทางขวาไปหาทางซ้าย

ทักษะ/การระดมความคิด
     - การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์จากเรื่องราวในชีวิตประจำวันด้วยเรื่องของจำนวน การบวก ลบ


การประเมิน
บรรยากาศในห้องเรียน
  ทุกคนดูมีความสุขในการเรียนรู้พร้อมกับบรรยากาศที่เย็นสบายเครื่องเสียงดี ห้องเรียนสะอาด

การจัดการเรียนการสอน
   - การเรียนสนุกชวนให้ได้ใช้ความคิดจากเรื่องเล็กๆเช่นการแจกกระดาษก็สามารถนำมาสอนคณิตศาสตร์ได้
  
การวิเคราะห์ตนเอง

- ได้เรียนรู้คณิตศาสตร์จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว ทำให้ตัวเองรู้สึกว่าการเรียนรู้คณิตศาสตร์ไม่ใช้เรื่องยาก
- ตั้งใจเรียนและคิดตามสิ่งที่ครูสอน มีความสุขในการเรียน

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุปบทความ ตัวอย่างการสอน สรุปงานวจัย


สรุปบทความ

เรื่องเล่าจากครูเพื่อศิษย์ "เรียนเล่นเป็นคณิต

เขียนโดย รตยา สารพร :จากเว็บ  GotoKnow.org
     
การนำกิจกรรมมาใช้สอนคณิตศาสตร์ให้เด็ก เช่น การนั่งสมาธิ , การฝึกมารยาท , ร้องเพลง , เล่นเกมส์  รวมทั้งข้อตกลงต่างๆของโรงเรียน  ในระหว่างที่เด็กๆ เล่นเกมส์ หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ครูจะแทรกเนื้อหาสาระ และความรู้เข้าไปด้วย  เช่น การเล่นเกมส์แข่งกันหยิบก้อนหิน ตามจำนวนที่ครูบอก  (เป็นการเรียนวิชาคณิตศาสตร์) , การระบายสีรูปภาพตามจำนวน ซึ่งเป็นการเรียนวิชาศิลปะพร้อมๆกับวิชาคณิตศาสตร์   เพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจของเด็กๆ ทำให้เด็กๆได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ไปในตัว




"เรื่องราวของ “ครูน้อง” คุณครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แห่งโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก จังหวัดกาญจนบุรี"





ตัวอย่างการสอน

จะให้ดีเรียนให้สนุกต้องผ่านการเล่น เด็กสามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ตั้งแต่ 1 ขวบ เด็กจะเรียนรู้ผ่านสีสัน รูปทรง  การ์ตูน และเกมส์ต่างๆ เป็นการเรียนรู้สำหรับเด็กเล็กก่อน จากนั้นเริ่มใส่ตัวเลขลงไป ให้เด้กจดจำได้เป็นพื้นฐาน เมื่อเริ่มโตขึ้นก็จะเรียนรู้ได้มากขึ้น





งานวิจัย

กาพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ปริญญานิพนธ์ของคมขวัญ อ่อนบึงพร้าว
เสนอตอบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเปนสวนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย พฤษภาคม 2550 ลิขสิทธิ์เปนของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ



กลุ่มตัวอย่างการวิจัยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปีซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ซึ่งได้จากการจับฉลากมา1 ห้องเรียนและได้รับการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยคัดเลือกเด็กที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ใน 15 อันดับสุดท้ายกำหนดเป็นกลุ่มทดลอง
ระยะเวลาในการทดลองการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองซึ่งจัดกระทำในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2549 ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 45 นาทีตัวแปรที่ศึกษา1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 5 ด้าน ดังนี้2.1. การบอกตำแหนง2.2. การจำแนก2.3. การนับปากเปล่า 1 – 302.4. การรู้ค่ารู้จำนวน 1 –20
2.5. การเพิ่ม – ลด ภายในจำนวน 1 – 10
ในแต่ละสัปดาห์จะหมุนเวียนแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ตลอดการทดลองให้เท่ากันดังนี้









4.3 ขั้นสรุป- ครูกับเด็กสรุปสิ่งที่เรียนรู้4.4 เตรียมสื่ออุปกรณ์4.5 กำหนดแนวการประเมินภาพการสอน

สรุปผลการวิจัย1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ย ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยรวม 5 ทักษะและจำแนกรายทักษะ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง ทักษะการจำแนก ทักษะการนับ 1 – 30 ทักษะการรู้ค่ารู้จำนวน และทักษะการเพิ่ม – ลด ภายในจำนวน1 – 10 อยู่ในระดับดี แตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1 วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


วัน   ศุกร์   ที่   8   เดือน    มกราคม     ปี   2559     เวลาเรียน     8:30 - 12:30น.



เนื้อหาที่เรียน
     
- เมื่ออาจารย์เข้ามาถึงในห้องเรียน อาจารย์ตั้งคำถามเกี่ยวกับภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการทบทวนความรู้เดิมของนักศึกษาในวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่เรียนผ่านมาแล้วเมื่อภาคการศึกษาที่ผ่านมา
- อาจารย์ให้รับกระดาษ A4 ไปแบ่งเป็นสามส่วนเท่าๆกันแล้วแจกให้คนละแผ่น จากนั้นก็ให้เขียนจุดเด่นของตัวเองลงไปในกระดาษที่ได้รับโดยที่ไม่ต้องเขียนชื่อของตัวเองลงไป ใช้เวลาเขียนประมาน 5 นาที
ก็ส่งให้ครู ทุกคนส่งครบแล้ว อาจารย์ก็อ่านข้อความในกระดาษและทายว่าจุดเด่นนี้เป็นลักษณะของใคร เมื่อเจอตัวตามลักษณะนั้นอาจารย์ก็จะถามชื่อนามสกุล จังหวัด อำเภอ แล้วเขียนลงในใบบอกจุดเด่นของแต่ละคน อาจารย์บอกว่าสิ่งสำคัญที่ครูต้องจำคือชื่อของนักเรียน
- อาจารย์ตั้งคำถามคณิตศาสตร์ จากการแบ่งกระดาษA4 หนึ่งแผ่นให้ได้สามส่วนเท่าๆกันต้องทำอย่างไรให้ใช้เวลาน้อยที่สุด 
- อาจารย์สั่งให้ทำบล็อกเกอร์สำหรับวิชานี้ ว่าในบล็อกเกอร์จะต้องมีอะไรบ้าง
- จัดเวลาในการนำเสนอ บทความ งานวิจัย  ว่าใครจะได้นำเสนอวันไหน



ทักษะ
  ได้ใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหาการแบ่งกระดาษให้ได้เท่าๆกัน เช่นการบวกเลข การคูณเลข และเรื่องของจำนวน


การประเมิน


บรรยากาศในชั้นเรียน
    ในชั้นเรียนเย็นสบายเหมาะกับการเรียน อาจารย์และเพื่อนๆ ทุกคนมีความสุขในการเรียนการสอน ทำให้บรรยากาศในชั้นเรียนไม่ตึงเครียด แต่สนุกสนานน่าเรียน


การจัดการเรียนการสอน
  การจัดการเรียนการสอนแบบนี้ทำให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิด ความรู้ที่มีอยู่ออกมาใช้ได้อย่างเกิดประโยชน์  


วิเคราะห์ลักษณะของตัวเอง
   วันนี้เป็นวันแรกของการเรียนในวิชานี้ และเป็นครั้งแรกที่ได้เรียนกับอาจารย์ ทีแรกที่เจออาจารย์รู้สึกกลัวอาจารย์แต่พอได้ยินน้ำเสียงและการสอนของอาจรย์ทำให้รู้ว่าอาจารย์ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด สำหรับดิฉันนั้นเวลาที่ตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์พูด ตัวเองจะชอบทำหน้าตาเหมือนคนที่ไม่เข้าใจจนบางครั้งคนที่กำลังพูดอยู่ก็ไม่มั่นใจว่าดิฉันจะเข้าใจในสิ่งที่เขาพูดอยู่หรือไม่ จนวันนี้ก็เจออาจารย์ถามว่าเข้าใจไหม สิ่งที่เรียนวันนี้ดิฉันเข้าใจและมีความสุขกับการเรียนค่ะ